คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. พัฒนา “ระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ” (National Hydroinformatics and Climate Data Center : NHC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ ทั้งข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลสถิติ ข้อมูลสถานการณ์น้ำปัจจุบัน ข้อมูลคาดการณ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการบริหารจัดการน้ำ ควบคุมสถานการณ์ การแจ้งเตือนภัย และลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ความเป็นมาคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงใยสถานการณ์น้ำมาโดยตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ ทรงให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการน้ำ

ปี พ.ศ. 2539 พระราชทานพระราชดำริให้ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วางแผนพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย เกิดเป็น “โครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย” โดยมอบหมายให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาระบบ

ปี พ.ศ. 2541 เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศเชื่อมต่อและเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2545 และได้ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

ข้อมูลสารสนเทศน้ำจาก 5 หน่วยงาน ได้ถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านเว็บไซต์ทรงงานส่วนพระองค์ weather901 และทรงติดตามสถานการณ์น้ำผ่านเว็บไซต์เป็นประจำทุกวัน กลางดึกคืนหนึ่งระบบเกิดขัดข้อง เช้าวันรุ่งขึ้น นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้รับโทรศัพท์จากสำนักพระราชวังแจ้งว่า เมื่อคืนระบบข้อมูลของอาจารย์ขัดข้อง ในหลวงทรงมีพระราชกระแสว่า… “ทีวีฉันหาย” …ทรงเปรียบเทียบว่าระบบ weather901 คือทีวีของพระองค์

ปี พ.ศ. 2555 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หรือ สสนก. ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ ขยายผลรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านทรัพยากรน้ำและภูมิอากาศ จำนวน 12 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมเจ้าท่า กรมอุทกศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาที่ดิน และ กรมทรัพยากรธรณี เกิดเป็น “คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ”

ปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลได้มอบหมายให้ สสนก. ขยายการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเป็น 34 หน่วยงาน ปัจจุบันมีข้อมูลทั้งหมด 388 รายการ ทั้งข้อมูลติดตามสภาพอากาศ เช่น เส้นทางพายุ ภาพถ่ายจากดาวเทียม การติดตามและคาดการณ์สภาพอากาศจากค่าความสูงน้ำทะเลและอุณหภูมิผิวน้ำทะเล แผนภาพคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 7 วัน จากแบบจำลองสภาพอากาศ (WRF Model) และข้อมูลติดตามสถานการณ์น้ำ เช่น ข้อมูลฝนตกในพื้นที่ ปริมาณและระดับน้ำในเขื่อน เส้นทางและสภาพน้ำ แสดงปริมาณการปล่อยน้ำออกสู่ลำน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำในแม่น้ำและลำน้ำสายสำคัญ สำหรับใช้ติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ

ปี พ.ศ. 2562 เชื่อมโยงข้อมูลจาก 42 หน่วยงาน* ผ่านการวิเคราะห์และ ประมวลผลข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกหน่วยงาน สามารถใช้งานระบบข้อมูลร่วมกัน ในการติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์ และคาดการณ์ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ ของประเทศอย่างมีเอกภาพ

การพัฒนาคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ระบบคลังขอมูลน้ําและภูมิอากาศแห่งชาติ
ปัจจุบันมีขอมูล 419 รายการ จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 45 หน่วยงาน และให้บริการข้อมูลที่ http://web.thaiwater.net/thaiwater30 รวมทั้งเผยแพรขอมูลใน ThaiWater Mobile Application ให้บริการประชาชนทั่วไปในการติดตามสถานการณ์น้ํา

ระยะที่ 2 ThaiWater Big Data Platform
จัดทําโครงสรางพื้นฐานสําหรับ Big Data และการนําเข้า (Ingestion) ข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ําและภูมิอากาศแหงชาติเข้าสู่ Big Data ให้พร้อมใช้งาน โดยติดตั้ง Big Data Ecosystem เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนธันวาคม 2560

ระยะที่ 3 ระบบอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจด้านบริหารจัดการน้ํา (BI/DSS)
ประกอบไปด้วย
1) ระบบสนับสนุนการวิเคราะหขอมูลขั้นสูง (Data Analytics)
2) ระบบรายงานสถานการณหลายมิติ (Situation Awareness)
3) ระบบการแสดงผลการวิเคราะหขอมูล (Visualization)

หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: 

แพล็ตฟอร์ม: 

Web Application

ประเภทของระบบ: 

Big Data

สถานะ: 

ให้บริการ

ภาพประกอบ: