แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570

      แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลบับนี้มุ่งยกระดับภาครัฐไทยสู่เป้าหมายการให้บริการตอบสนองประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำ
การเพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ การสร้างความโปร่งใส ที่เน้นการเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชน
โดยไม่ต้องร้องขอและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเป็นภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญ
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570
กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้สอดรับ กับวิสัยทัศน์ข้างต้นไว้ 4 ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1:ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น
                 คล่องตัวและขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2:พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3:สร้างมูลค่าเพิ่มและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4:ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

     นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการขับเลื่อนรัฐบาลดิจิทัลทิศทางที่ขัดเจนและเกิดขึ้นได้จริงในเชิงปฏิบัติ จึงได้ กำหนดแนวทาง
การพัฒนาในด้านที่มุ่งเน้นสำคัญ ไว้ทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ การศึกษา สุขภาพและการแพทย์ ความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการ
ประชาชน สิ่งแวดล้อม การเกษตร การท่องเที่ยว การส่งเลริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME:) แรงงาน การยุติธรรม
และการมีส่วนร่วม โปร่งใส และตรวจสอบได้ของประชาชน อีกทั้ง มุ่งส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่ม ประสิทธิภาพและมูลค่าของสินค้าและบริการ พร้อมยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก
ด้วยการนำความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของประเทศไทย มาพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
ที่ยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bic-Circular-Green Eccnomy: BCG Economy
โดยเฉพาะด้านการเกษตร สุขภาพและการแพทย์ และการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อนำพาประเทศสู่การพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (sustainable Development) ที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมในปัจจุบัน พร้อมส่งต่อ
ทรัพยากร ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นต่อไป โตยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมีความเกี่ยวข้อง
และจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการจากทุกหน่วยงานภาครัฐ ที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและยกระดับหน่วยงานให้สอดล้องกับทิศทาง
การขับเคลื่อนของประเทศ จึงไม่ใช่เป็นเพียงการพัฒนาหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก
ทุกหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาและขับเคลื่อนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิทัลในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปรรม ให้ตอบสนองต่อ
ความต้องการของประชาชน และมีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาประเทศ