Geospatial Big Data

สถานภาพของภูมิสารสนเทศ Geo Informatics ที่ให้บริการ Geo Solutions ในด้านต่างๆ ประกอบด้วยข้อมูล (Data) สถานการณ์แบบ Near-Realtime (NRT)

คลังข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ปรับแก้แล้ว (Satellite Imagery) กว่า 30 ดวงให้บริการข้อมูลผ่านระบบ GISTDA One Archive อัพเดทข้อมูลตามวงรอบการถ่ายของดาวเทียม

ข้อมูลตําแหนงจุดเกิดความร้อน (Hotspot) จากข้อมูลดาวเทียมระบบ MODIS (Terra/Aqua) และดาวเทียมระบบ VIIRS (Suomi NPP)  ให้บริการขอมูลผ่านระบบ Fire Monitoring System อัพเดทขอมูลวันละ 4 ครั้ง

ข้อมูลพื้นที่น้ําท่วม (Area Flood) จากข้อมูลดาวเทียมหลายดวง หลักๆ คือ ดาวเทียม Thaicote-1 Radarsat-2 Cosmo Sky-Med 1 2 3 4 และดาวเทียมดวงอื่นๆประกอบ  ให้บริการข้อมูลผ่านระบบ Flood Monitoring System (หากพบเหตุการณอุทกภัย) จะอัพเดทขอมูล NRT ตามวงรอบดาวเทียม

ข้อมูลความแตกต่างของพืชพรรณ (NDVI) ข้อมูลความแตกต่างความชื้น (NDWI) จากดาวเทียมระบบ MODIS (Terra/Aqua) และขอมูลความชิ้นผิวดิน จากดาวเทียม NASA’s Soil Moisture Active Passive (SMAP) ให้บริการข้อมูลผ่านระบบ Drought Monitoring System อัพเดทขอมูลรายวัน

ข้อมูลการตรวจวัดกระแสน้ํา คลื่น (Current) จากสถานีเรดาร์ชายฝั่ง ให้บริการข้อมูลผานระบบ Coastal Radar Station อัพเดทข้อมูล NRT

ข้อมูลสภาพอากาศทางการเกษตรและภัยพิบัติ จากสถานีตรวจวัด Agritronics ให้บริการข้อมูลผ่านระบบ G-Sensor อัพเดทข้อมูล NRT 

การดําเนินงานการจัดเก็บข้อมูลและใหบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ สทอภ. ได้จัดทําโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน OGC Standard ประกอบดวย มาตรฐานการจัดเก็บขอมูลเชิงพื้นที่ ISO19125 (Simple Feature Access Part1 and Part2) และมาตรฐานการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านอินเทอรเน็ต ISO19128 (Web Map Service : WMS 1.3) , ISO19119 (Web Feature Service : WFS 2.0)  ซึ่งระบบสําหรับให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ ของ สทอภ. เปิดให้บริการมาแล้วมากกว่า 10 ปี มีการดูแลบํารุงรักษา พร้อมให้บริการ และมีการอัพเดทข้อมูลเป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง มีผู้เข้าใช้บริการทั้งในและต่างประเทศกว่า 1 ล้านผู้ใช้งาน โดยอ้างอิงจากการเก็บสถิติการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ด้วย Google Analytics  ปัจจุบัน สทอภ. ไดมีการบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงชั้นแผนที่ (Map Layers) ทั้งจากหนวยงานภายในและภายนอกกว่า 20 หน่วยงาน

ในอนาคตภายใต้โครงการพัฒนาดาวเทียม Theos-2 การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน เช่น ด้านการจัดการเกษตร น้ํา ภัยพิบัติ ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ประเทศไทยในอนาคตได้มีระบบวางแผน ตัดสินใจ ติดตาม วิเคราะห์ และรายงานข้อมูลสถานการณ์เชิงพื้นที่ของประเทศอย่างละเอียด ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะทําให้การบริหารจัดการในทุกพื้นที่ของประเทศมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน

หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: 

แพล็ตฟอร์ม: 

Web Application

ประเภทของระบบ: 

Big Data

สถานะ: 

ให้บริการ

เอกสารแนบ: 

ภาพประกอบ: